วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554

เกร็ดความรู้เรื่อง ระบบไฟที่สงสัยกัน


เกร็ดความรู้เรื่อง ระบบไฟที่สงสัยกัน

   เป็นปัญหา เหมือนกันนะครับว่า สงสัยจริงว่าใส่แบต 2 ลูกจะช่วยให้ไฟเพียงพอจริงหรือ (ใช้วิทช์,ลงเครื่องเสียงตึบๆ)...ลองอ่านแล้ววิเคราะห์ตามดูนะครับ....บท ความนี้ก็คัดลอกต่อกันมาเห็นว่ามีประโยชน์ (ต้องขออภัยเจ้าของบทความนะครับ แบบว่าcopy มา save เก็บไว้อ่านเป็น knowledge เอาไว้นานแล้ว...)
โดยปกติอุปกรณ์จำเป็นมาตรฐานที่ติดตั้งมากับรถยนต์นั้น มีอัตราการกินกระแสที่เป็นสัดส่วน

ดังต่อไปนี้ (เป็นอัตราเฉลี่ยในรถขนาดแตกต่างกัน ถ้ารถขนาดใหญ่ก็อาจกินกระแสมากกว่ารถ
ขนาดเล็ก)
- ไฟหน้าใหญ่ 15-20 A
- ไฟป้อนเข้าระบบจุดระเบิดเครื่องยนต์ 10 A
- ไฟสำหรับที่ปัดน้ำฝน 15-20 A
- ไฟดวงต่างๆ 1 A ต่อหลอด
- ไฟสำหรับระบบปรับอากาศ 25-35 A
ถ้าเราเป็นนักสังเกตบ้างเล็กน้อยเมื่อถอยรถออกจากโชว์รูม จะเห็นได้ว่าแบตเตอรี่ที่ติดตั้งมา
กับรถนั้น มีขนาดแค่พอเหมาะประมาณ 35-45 แอมแปร์ นั่นก็เพราะเขาคิดมาตรฐานเอาจากค่า
การใช้กระแสมาตรฐานจากไฟหน้า, ไฟระบบเครื่องยนต์ และไฟอื่นๆ โดยบางครั้งยังไม่นับรวมถึง
ไฟที่ใช้สำหรับระบบปรับอากาศด้วยซ้ำไป
เวลาใช้รถตอนกลางคืนที่ฝนตกหนักๆ แค่เปิดไฟหน้าและที่ปรับน้ำฝนพร้อมกับระบบปรับ
อากาศ จะสังเกตเห็นไฟหรี่ภายในรถมีอาการวูบวาบแล้ว บางท่านที่พอรู้เรื่องรู้ราวบ้างก็จัดการ
เปลี่ยนแบตเตอรี่ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 50-65 แอมแปร์ อาการดังกล่าวก็ไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป
การเปลี่ยนแบตเตอรี่นั้นอาจถูกต้องในบางเรื่องแต่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะจะต้องคำนึงถึง
‘ไดชาร์จ’ หรืออัลเตอเนเตอร์ด้วย ถ้าไดชาร์จมีขนาดแรงดันกระแสขาออกแค่เพียง 35 A
โดยทางทฤษฎีมันจะมีความเหมาะสมเพื่อใช้กับแบตเตอรี่ขนาด 35 A เท่านั้น ถ้าใช้แบตเตอรี่
เพิ่ม เป็นขนาด 50 A ไดชาร์จจะต้องทำอย่างหนักเพื่อพยายามเติมไฟให้เต็มแบตเตอรี่ 50 A โดยไม่มีการเรียกใช้ไฟจากระบบไฟรถยนต์เลยถ้ายังต้องเปิดไฟหน้า หรือเปิดเครื่อง
ปรับอากาศในระหว่างที่ไดชาร์จกำลังเติมไฟให้แบตเตอรี่ กระแสไฟที่แบตเตอรี่ก็จะไม่มี
วัน เต็มได้เลยถ้าคิดอัตราเฉลี่ยในการเติมไฟแบตเตอรี่ของไดชาร์จโดยไม่มีการโหลด จากระบบไฟรถยนต์ ไดชาร์จขนาด 35 A จะเติมไฟให้เต็มแบตเตอรี่ขนาด 50 A ได้ในเวลาเกือบๆ
2 ชั่วโมง
ซึ่งแน่นอนว่าขณะที่ทำการปั่นไดชาร์จ ด้วยเครื่องยนต์เพื่อเติมไฟให้เต็มแบตเตอรี่ระบบเครื่องยนต์ก็จะกินไฟ 10 A อยู่ตลอดเวลา ระยะเวลาจึงยิ่งนานเข้าไปอีก ยิ่งถ้ามีการเปิดระบบปรับอากาศด้วยก็ยิ่งนานขึ้นอีกในปัจจุบันเทคโนโลยีด้าน ระบบเสียงรถยนต์มีความเจริญก้าวหน้าอย่างมากจากกำลังขยายเพียงแค่ไม่กี่ วัตต์ในสมัยก่อน กลายมาเป็นกำลังขยายในระดับพัน-สองพันวัตต์ในปัจจุบัน สิ่งหนึ่งที่ผู้คนทั้งหลายต่างมองข้ามกันไปก็คงเป็นเรื่องของ ‘กำลังไฟ’ ที่จะป้อนจ่ายให้กับอุปกรณ์ระบบเสียงหลายท่านไม่ทราบว่าจะต้องคำนวณการกิน กระแสของระบบได้อย่างไร

การเพิ่มขนาดของแบตเตอรี่เพียงอย่างเดียวอาจไม่ใช้ทางแก้ปัญหา การเรียกกำลังไฟจากรถยนต์ที่ถูกต้องโดยปกติเราต้องใช้ไดชาร์จที่มีขนาดกระแสขาออกได้มากกว่าความต้องการของ
กระแสรวมประมาณ 20% และ 40-50% ถ้าค่ากระแสขาออกนั้นบอกมาในหน่วย Cold152
1. สายไฟแรงดันที่ขั้วบวก หรือขั้วลบที่ลงกราวน์ อาจมีขนาดเล็กเกินไปเมื่อ
เทียบกับจำนวนของกระแสที่ไหลผ่าน
2. เกิดอิมพีแดนซ์อย่างรุนแรงในจุดต่อยึดบางจุดของสายไฟแรงดัน/หรือขั้วกราวน์ อาทิ ขั้วแบตเตอรี่เสื่อม, มีการต่อสายไฟแรงดันอย่างหลวมๆ ไม่บัดกรี, ขันหัว
ขั้วแบตเตอรี่ไม่แน่น, ยึดหัวขั้วไฟกราวน์ไม่แน่น, ไม่ขูดสีตัวถังให้สะอาด หรือกราวน์ไม่
สมบูรณ์
3. ขนาดของแบตเตอรี่ไม่เพียงพอที่จะจ่ายกระแสไฟให้กับระบบเสียง หรือมีความจะของกระแสที่แบตเตอรี่น้อยเกินไป
4. แบตเตอรี่มีการคายประจุที่เร็วมาก (ผิดปกติ) หรือไม่ก็แผ่นแซลในแบตเตอรี่เกิดความเสียหาย (เปลี่ยนใหม่)แล้วเช็คด้วย VOM อีกครั้ง
5. แบตเตอรี่มีขนาดพอเพียงกับการจ่ายกระแส แต่ว่าตัว ‘ไดชาร์จ’ ให้ขนาดกระแสขาออกน้อยเกินไป หรือไม่สามารถจ่ายกระแสได้มาพอต่อการประจุแบตเตอรี่ให้เต็มได้ กรณีแบบนี้ค่าแรงดันที่วัดได้จากแบตเตอรี่จะต่ำกว่า 12 โวลท์ เมื่อทำการตรวจวัดในขณะดับเครื่องยนต์

จึงอาจต้องระวังเรื่องนี้ในการสับเปลี่ยนไดชาร์จ นอกจากนั้นยังพบว่าไดชาร์จและ
การประจุกำลังไฟของรถยนต์มีความแตกต่างกันในรถแต่ละคัน บางระบบสามารถจ่าย
กระแสออกมาได้เต็มที่เมื่อเครื่องยนต์ทำงานขณะที่บางระบบจะจ่ายกระแสก็ต่อเมื่อ
เครื่อง ยนต์มีรอบปั่นสูงๆ ซึ่งความแตกต่างนี้ก็เป็นอีกเรื่องที่พึงระวังโดยหลักการแล้วไดชาร์จถูกคิด ค้นและสร้างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ
1. เพื่อผลิตและแจกจ่ายกระแสไฟให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าในรถยนต์ เมื่อเครื่องยนต์
เริ่มทำงาน
2. เพื่อจ่ายกระแสไฟไปกักเก็บเอาไว้ที่แบตเตอรี่ เพื่อนำก
โดย: [0 3] ( IP )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live

ความคิดเห็นที่ 1
   ลับมาใช้ในสตาร์ต
เครื่องยนต์

เราสามารถอธิบายถึงลักษณะการ
ทำ งานของไดชาร์จไดด้วยทฤษฎีพื้นฐานทางอีเล็กโทรนิกได้ว่ากระแสไฟจะไหลจากแหล่ง กำเนิดที่มีค่าศักยภาพสูงที่สุดไปยังจุดที่มีศักยภาพต่ำที่สุดซึ่งคล้ายกับ น้ำที่จะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำดังนั้นเพื่อให้เรามั่นใจถึงการประจุไฟให้ กับแบตเตอรี่ได้อย่างเต็มที่นั้น เราจะต้องรักษา
ระดับแรงดันไฟขาออกของไดชาร์จให้สูงกว่าค่าปกติของแบตเตอรี่ ซึ่งก็คือ 12.8 โวลท์
และ ด้วยวิธีนี้แบตเตอรี่จะไม่ถูกใช้งานจนกว่าจะมีการสตาร์ตเครื่องยนต์อีกครั้ง หนึ่งและนี่คือ”แก่นการทำงานของระบบไฟฟ้าในรถยนต์”นั่นเอง

ค่า Set Point ของไดชาร์จ
• โดยทั่วไปแล้วระดับแรงดันไฟของได-ชาร์จนั้นจะนิยมตั้งกันไว้ที่ 14.4โวลท์ เพื่อ
รักษาสภาพการทำงานที่ถูกต้อง โดยกำหนดให้มีความต่างศักย์ประมาณ 1.6 โวลท์ เพื่อ
เอาชนะค่าความต้านทานในตัวแบตเตอรี่เองและเมื่อมีการจ่ายกระแสจนถึงจุดสูงสุด
ของมันแล้ว ตัวไดชาร์จก็จะหมดหน้าที่ไปชั่วคราวและเป็นหน้าที่ของแบตเตอรี่ที่จะทำการจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าในรถ

ตัวอย่างเช่น เราใช้ไดชาร์จที่จ่ายแรงดันไฟได้ 14.4 โวลท์ที่กระแส 100 A (แอม-
แปร์) ซึ่งหมายความว่า หากบรรดาอุปกรณ์ทั้งหมดในรถนั้นถูกใช้งานในความต้องการ
กระแสรวม 99.9 A แล้วละก็ ไดชาร์จตัวนี้จะสามารถจ่ายกำลังไฟให้ได้ทั้งหมดอย่างทั่วถึง
แต่ถ้าหากว่าความต้องการทางกระแสของอุปกรณ์ (Load Demand) นั่นอยู่ที่
100.1 A แล้วละก็ มันก็จะเกิดค่า SetPoint ของไดชาร์จ และส่วนที่เกินมาอีก 0.1
A นั้นจะเป็นภาระหน้าที่ของแบตเตอรี่ที่จะต้องจ่ายเสริมเข้าไปให้ครบและหาก สถานการณ์เช่นนี้ยังคงเป็นต่อไปประมาณอีก 10 นาที ไฟในแบตเตอรี่ก็จะค่อยๆ หมดลง ตัวไดชาร์จก็จะทำงาน
หนักและร้อนเกินขีดจำกัด (Overload) ซึ่งจุดนี้เองที่จะเริ่มทำให้มีความเสียหายที่
ไดชาร์จเกิดขึ้นถ้าหากว่าเราไม่สามารถรักษาระดับของSet Point ของไดชาร์จไว้ได้อย่างตัวอย่าง
ข้างต้น ก็มีทางออกอยู่ 2 ทางด้วยกันคือ
1. ลดค่าภาระ (Load) ลงมา การลดค่าภาระลงนั้น ก็เช่น เมื่อเปิดใช้ระบบปรับอากาศ เมื่อเปิดไฟหน้า
3. เพิ่มค่ากระแสของไดชาร์จให้สูงขึ้น ก็หมายถึงการเปลี่ยนตัวไดชาร์จใหม่แต่ค่าแรงดันไฟเพิ่มขึ้นเพียง 0.5 โวลท์เท่านั้น เมื่อใช้กับภาระทางกระแสที่ประมาณ200 Aในการพ่วงแบตเตอรี่ลูกที่สองนั้น ควรจะต้องมีอุปกรณ์ที่เรียกกันว่า ‘ตัวแยกภาระ’[Isolator) ต่ออยู่ในวงจรของไดชาร์จ และไม่ควรใช้แบตเตอรี่เกินสองลูกกับไดชาร์จหนึ่งตัวโดยแบตเตอรี่ทั้งสองนั้น จะต้องมีคุณสมบัติเหมือนกัน/ความจุแอมแปร์เท่ากันการต่อแบตเตอรี่ลูกที่สาม ควรใช้ไดชาร์จแยกไปอีกตัวหนึ่ง ทั้งหมดเพื่อมิให้ไดชาร์จต้องรับภาระหนักเกินไป ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดความเสื่อมของไดชาร์จอย่างรวดเร็ว

(B) แบตเตอรี่ก็เป็นภาระเช่นกัน
• แบตเตอรี่นั้นจะกลายเป็นภาระของระบบไฟได้ในทันทีที่คุณสตาร์ตเครื่องยนต์ เหตุก็เพราะแบตเตอรี่เป็นอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งในระบบไฟนั่นเอง ดังนั้นถ้าเรามีการเพิ่มขนาด
แบตเตอรี่หรือเสริมแบตเตอรี่ลูกที่สองเข้า ไปในระบบ ก็หมายถึงการเพิ่มภาระให้กับไดชาร์จ จะโหดร้ายเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับภาระที่เพิ่มนั้นถ้าระบบเสียงในรถของท่านต้อง การ
กระแสที่มากเกินกว่าค่า Set Point ของไดชาร์จ และต้องการกระแสบางส่วนเพิ่มจากแบตเตอรี่ ต้องให้มั่นใจได้ว่าแบตเตอรี่สามารถจ่ายกระแสได้เหมาะสมการเพิ่มแบตเตอรี่ ลูกที่สองเข้าไปนั้น
โดย: เที่ยวละไม [26 มี.ค. 51 16:33] ( IP A:203.146.25.42 X: )

ความคิดเห็นที่ 2
   เนื่องจากแบตเตอรี่ต้องการไฟตรงไปชาร์จ แต่สเตเตอร์ผลิตไฟสลับ
จึงต้องแปลงเป็นไฟตรง โดยผ่านวงจร เรคติไฟล์ (Rectifier) แต่จะได้
ไฟไม่สมดุล คือเมื่อเครื่องยนต์เดินรอบต่ำ ไฟจะไม่ถึง 12 โวลต์ แต่เมื่อ
เครื่องยนต์เดินรอบสูงไฟก็จะเกิน ไฟแบตเตอรี่ที่ 12 โวลต์เป็นค่าเฉลี่ย
และจะชาร์จสูงสุดไม่เกิน 14.8 โวลต์ ดังนั้นก่อนเข้าแบตเตอรี่จึงต้องมี
วงจรคุมปริมาณแรงดันไฟ
เมื่อสตาร์ตเครื่องยนต์ ไดชาร์จจะหมุนส่งไฟเอซีไปยังชุดเรคติไฟล์
เพื่อแปลงเป็นไฟตรง ถ้าเครื่องยนต์ไม่ถึง แรงดันไม่ได้ตามกำหนด ชุด
เรกูเลเตอร์ (Regulator) จะไม่ส่งไฟไปยังแบตเตอรี่
แต่ถ้ารอบเครื่องยนต์ถึงจุดทำงาน แรงดันไฟที่ 12 โวลต์ จึงจะส่ง
ผ่านเรคกูเลเตอร์ไปยังแบตเตอรี่ ในสภาวะที่แบตเตอรี่มีแรงดันต่ำกว่า
12 โวลต์ ระบบชาร์จไฟจะทำการชาร์จไฟให้แรงดันของแบตเตอรี่เพิ่มขึ้น
จนถึงจุดหนึ่งที่กำหนดไว้ระบบจะยกเลิกทันที
โดย: เที่ยวละไม [26 มี.ค. 51 16:38] ( IP A:203.146.25.42 X: )

ความคิดเห็นที่ 3
   ระบบการชาร์จไฟไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่ภายในรถยนต์โดย ทั่วไปจะประกอบด้วย alternator(ไดชาร์จ), internal voltage regulator(ตัวควบคุมแรงดันภายในไดชาร์จ), charge indicator light, battery, fuse และสายไฟที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ทั้งหมดเข้าด้วยกัน เพื่อนำกำลังไฟที่ชาร์จได้ไปใช้ในการสตาร์ทเครื่องยนต์, ระบบส่องสว่าง และอุปกรณ์อื่นๆ



Alternator(ไดชาร์จ) จะถูกขับโดยสายพานที่เชื่อมต่อออกมาจากเครื่องยนต์ ในรุ่นที่มีการควบคุมด้วย ECU จะมีระบบควบคุมการทำงานของไดชาร์จอยู่ภายในตัว ECU โดยระบบจะทำการเปลี่ยนแปลงค่าแรงดันที่ไดชาร์จตามสภาวะการขับขี่ที่แตกต่าง กันออกไป ขึ้นอยู่กับโหลดของกำลังไฟฟ้า, ความเร็ว, การทำงานของระบบหล่อเย็น, และการใช้อุปกรณ์ต่างๆภายในรถ เช่น แอร์ เครื่องเสียง ฯลฯ และ intake air temperature เพื่อให้เกิดการโหลดกำลังของเครื่องยนต์น้อยที่สุด

Internal voltage regulator จะติดอยู่กับตัว alternator จะทำหน้าที่จำกัดแรงดันของ alternator ให้ได้ตรงตามค่าที่ตั้งไว้ เพื่อป้องกัน power surges, circuit overload ฯลฯ ของ output ที่ได้ออกมา

Warning light(ไฟเตือนสภาวะการทำงาน) ปกติจะติดสว่างเมื่อหมุนกุญแจสตาร์ทหมุนมาอยู่ที่ตำแหน่ง on และจะดับทันที่ที่เครื่องยนต์สตาร์ทติดเรียบร้อยแล้ว แต่ถ้ายังติดอยู่แสดงว่าระบบการชาร์จไฟทำงานผิดปกติอยู่ จะต้องทำการตรวจสอบระบบการชาร์จไฟ การทำการตรวจสอบระบบการชาร์จไฟมีข้อควรระวังดังต่อไปนี้

ต้องทำเครื่องหมายที่สายต่างๆที่เราทำการถอดออกมาเพื่อป้องกันการใส่ผิดขั้วเวลาที่ต่อกลับคืนตำแหน่งเดิม

เมื่อต้องการทำการเชื่อมเพื่อซ่อมแซมส่วนต่างๆของรถยนต์ ควรถอดสายต่างออกจากตัว alternator และขั้วของแบตเตอรี่เสียก่อน

ห้ามทำการสตาร์ทเครื่องยนต์กับแบตเตอรี่ที่ทำการชาร์จอยู่

ต้องทำการถอดสายไฟออกจากขั้วแบตเตอรี่ทุกครั้งที่จะทำการชาร์จ

ตัว ไดชาร์จถูกขับด้วยสายพานจากเครื่องยนต์ ต้องระวังมือ ผม หรือส่วนต่างๆ เข้าไปติดในสายพานระหว่างที่เครื่องยนต์ทำงานอยู่ อาจทำให้เกิดอันตรายและได้รับบาดเจ็บได้

Alternator จะต่อโดยตรงอยู่กับแบตเตอรี่ ทำให้อาจเกิดประกายไฟและการลุกไหม้หากว่าเกิดการ overload หรือ short เกิดขึ้น

หุ้มหรือคลุมตัว alternator ด้วยถุงพลาสติกให้แน่นทุกครั้งก่อนที่จะทำการล้างเครื่องยนต์



Charging system check



1.ถ้า ระบบของการชาร์จไฟเกิดการทำงานผิดปกติ อย่าเพิ่งสันนิษฐานว่าสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นมาจาก alternator ทันที อันดับแรกให้ทำการตรวจเช็คตามหัวข้อต่างๆด้านล่างนี้ก่อน



ตรวจ สอบสภาพและความตึงของสายพานที่ต่ออยู่กับตัว alternator (ควรตรวจสอบเป็นประจำทุกๆ 7500 ไมล์ (12,067.5 K.m.) หรือทุกๆ 6 เดือน หรืออย่างใดอย่างหนึ่งที่มาถึงก่อน)

สายพานควรมีสภาพที่ไม่เก่าจนเกินไป ไม่บิดเบี้ยวเสียรูป หรือกรอบ แข็ง และแตกหัก และถูกติดตั้งอยู่อย่างถูกต้อง

ควร ตรวจสอบความตึงของสายพานให้อยู่ในระดับที่พอดี วิธีการตรวจสอบแบบง่ายๆทำได้โดยการใช้นิ้วหัวแม่มือกดลงไปบนสายพานด้วยแรง ประมาณ 10 ปอนด์ (เอาแบบตอนยังไม่หมุนนะ) บริเวณที่เป็นระยะกึ่งกลางระหว่างพูลเลย์ที่ยึดสายพานอยู่ แล้วสังเกตดูว่าจากตำแหน่งที่เรากดลงไปสายพานยุบตัวลงไปเท่าไร ตามสเปคของรถแต่ละรุ่นที่กำหนดเอาไว้ ถ้าเป็น Honda Accord 90 ก็ สเปคนี้เลยครับ

Alternator drivebelt deflection (With air-conditioning)

New belt
3/16 to 5/16-inch

Old belt
3/8 to 1/2-inch


ตรวจสอบตำแหน่งการติดตั้งของ alternator และการปรับสายพานให้แน่ใจว่าถูกต้องเรียบร้อยแล้ว



ทำการตรวจสอบสภาพสายไฟและขั้วต่อของตัว alternator และตัว voltage regulator ว่าอยู่ในสภาพที่ดีพร้อมที่จะใช้งานได้

ให้ ทำการตรวจสอบฟิวส์ที่เชื่อมต่ออยู่ระหว่างตัว starter solenoid และ alternator ว่ายังอยู่ในสภาพที่ดีไม่ขาดหรือไหม้ และถ้าไม่แน่ใจให้ทำการการถอดออกมาวัดความต่อเนื่องด้วยมิเตอร์เลยจะเป็นการ ดี เพราะถ้าฟิวส์เกิดขาดจะทำให้รถยนต์ไม่สตาร์ท และอุปกรณ์อย่างอื่นอาจไม่ทำงาน และอาจต้องทำการตรวจสอบวงจรที่ควบคุมการชาร์จและวงจรอื่นๆข้างเคียงก่อนที่ จะทำการเปลี่ยนฟิวส์ตัวใหม่เข้าไปแทน

จากนั้นทำการสตาร์ทเครื่อง ยนต์ และตรวจสอบการทำงานของ alternator ว่าระหว่างการทำงานมีเสียงดังผิดปกติเกิดขึ้นหรือเปล่า เพราะอาจเป็นผลมาจาก bearing ได้รับความเสียหายก็เป็นได้

ทำการตรวจสอบสภาพของแบตเตอรี่ ทั่งระดับน้ำกลั่นและแรงดัน ว่าถูกต้องและอยู่ในสภาวะที่พร้อมใช้งาน เพราะการใช้แบตเตอรี่ที่เสื่อมไม่สามารถประจุไฟใหม่ได้จะเป็นผลตัว alternator ทำงานเกินกำลังได้

ทำการถอดสายไฟแบตเตอรี่ (ถอดขั้วลบก่อนแล้วตามด้วยขั้วบวก) และทำการตรวจสอบสภาพที่ตั้งและสายของแบตเตอรี่ว่
โดย: [0 3] ( IP )

ความคิดเห็นที่ 4
   าเกิดการกัดกร่อนหรือมีคราบสกปรกเกิดขึ้นหรือเปล่า ถ้ามีให้ทำการแก้ไขและทำความสะอาดให้เรียบร้อย จากนั้นจึงทำการต่อสายไฟเฉพาะขั้วบวกกลับเข้าที่เดิม

ที่ตำแหน่ง กุญแจสตาร์ทต้องอยู่ที่ตำแหน่ง Off ให้ทำการต่อ test light (หลอดไฟแบบหลอดไส้) ระหว่างขั้วลบของตัวแบตเตอรี่เองกับสายของขั้วลบที่จะมาต่อกับแบตเตอรี่ จากนั้นสังเกตดูที่หลอดไฟ

ถ้าหลอดไฟที่นำมาทดสอบไม่ติดสว่าง ให้ทำการต่อสายไฟขั้วลบเข้าไปที่ขั้วลบของแบตเตอรี่ตามเดิม และทำตามขั้นตอนต่อไปได้

ถ้า หลอดไฟที่นำมาทดสอบติดสว่างขึ้น แสดงว่าเกิดการลัดวงจรเกิดขึ้นกับระบบไฟฟ้าภายในรถยนต์ ให้ทำการตรวจซ่อมให้หายก่อนที่จะไปทำการตรวจสอบระบบการชาร์จไฟ โดยให้ทำการดึงฟิวส์ของวงจรในแต่ละส่วนการทำงานออก และสังเกตดูว่าหลอดไฟดับเมื่อเราดึงฟิวส์ตัวไหนออก มันจะสามารถช่วยบอกเราได้ว่าวงจรในส่วนนั้นเกิดการลัดวงจรเกิดขึ้น ให้ทำการแก้ไขให้เป็นปกติจึงค่อยไปทำการตรวจสอบขั้นต่อไป

ทำการดึงสายไฟที่ต่ออยู่กับตัว alternator ออก แล้วทำการบิดกุญแจสตาร์ทไปอยู่ที่ตำแหน่ง on (ยังไม่ต้องสตาร์ทเครื่องยนต์)

ทำ การตรวจสอบที่ Charge indicator light ถ้าไม่ติดสว่างออกมา ให้ทำการต่อ connector ของ alternator กับเข้าที่เดิม และให้ข้ามไปทำการตรวจสอบในหัวข้อที่ 3 ได้เลย

แต่ถ้า Warning light ติดสว่าง จะต้องทำการตรวจซ่อมวงจรต่างๆภายในให้เรียบร้อยเสียก่อน ซึ่งอาจเกิดมาจากมีฟิวส์ที่เกี่ยวข้องกับ warning light เกิดการไหม้หรือขาด, ตัวหลอดไฟแสดงผลขาด หรือชุดควบคุมระบบการชาร์จไฟชำรุด

2.ใช้ voltmeter ตรวจสอบระดับแรงดันของแบตเตอรี่ขณะที่ไม่ได้ติดเครื่องยนต์ จะต้องมีระดับแรงดันประมาณ 12 Volts

3.ทำการสตาร์ทเครื่องยนต์ และวัดระดับแรงดันของแบตเตอรี่อีกครั้ง จะต้องได้ค่าประมาณ 14 ถึง 15 Volts

4.ทำการเปิดไฟหน้าของรถยนต์ ซึ่งจะทำให้ระดับแรงดันของแบตเตอรี่ลดต่ำลง และจะเพิ่มกลับมาอีกครั้งถ้าระบบการชาร์จไฟทำงานอย่างถูกต้อง

5.ถ้า ระดับแรงดันที่วัดได้มีค่ามากเกินกว่าที่กำหนดไว้ ให้ทำการเปลี่ยนตัว voltage regulator แต่ถ้าระดับแรงดันมีค่าต่ำเกินไป อาจเกิดมาจากสาเหตุที่ตัว alternator diode(s), stator หรือ rectifier อาจจะเสื่อม, เสียหรือชำรุด หรือตัว voltage regulator เองอาจทำงานผิดพลาดได้

ไม่มีความคิดเห็น: