วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554

ขั้นตอนการสร้างชุดฝึกปฎิบัติระบบไฟฟ้ารถจักรยานยนต์

รายการบล็อกขั้นตอนการสร้างชุดฝึกปฎิบัติระบบไฟฟ้ารถจักรยานยนต์
1.  ขั้นตอนการวางแผนสร้างชุดฝึกปฏิบัติระบบไฟฟ้ารถจักรยานยนต์

ขั้นตอนการวางแผนสร้างชุดฝึกปฏิบัติระบบไฟฟ้ารถจักรยานยนต์สรุปได้ดังนี้
                     1.1  ศึกษาข้อมูล รายวิชางานจักรยานยนต์ จากหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ  พุทธศักราช 2545  (ปรับปรุงพุทธศักราช  2546)   สาขางานยานยนต์ ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และจากการวิเคราะห์หลักสูตร จำแนกเนื้อหาระบบไฟฟ้ารถจักรยานยนต์ได้ 5 ระบบคือ
                            1.1.1  ระบบไฟจุดระเบิด
 1.1.2  ระบบไฟชาร์จ
 1.1.3  ระบบไฟแสงสว่าง
 1.1.4  ระบบไฟสตาร์ท
       1.1.5  ระบบไฟสัญญาณ
1.2   ศึกษา ค้นคว้า เกี่ยวกับนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ของระบบไฟฟ้ารถจักรยานยนต์ จากศูนย์ฝึกอบรม  บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด   บริษัท ไทยซูซูกิมอเตอร์ จำกัด  บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด  สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  และสถาบันพัฒนาผีมือแรงงาน  และนำข้อมูลจากการศึกษามาประยุกต์ เลือกใช้ให้เหมาะสม กับลักษณะเนื้อหาวิชา และระดับความสามารถของนักเรียน ตลอดจนมีรูปแบบที่น่าสนใจ  วัสดุที่ใช้ทำหาได้ง่าย  ทันสมัย และราคาประหยัด
1.3  ออกแบบ และเขียนแบบชุดฝึกปฏิบัติ   ผู้สร้างได้นำข้อมูลจากการศึกษา มาออกแบบและเขียนแบบชุดฝึกปฏิบัติระบบไฟฟ้ารถจักรยานยนต์  หลังจากนั้นนำแบบชุดฝึกปฏิบัติไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ  และนำข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ มาทำการปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะนำแบบไปทำการสร้าง
1.4  ดำเนินการสร้างชุดฝึกปฏิบัติระบบไฟฟ้ารถจักรยานยนต์  ตามแบบที่กำหนด
1.5  ทดลองการใช้งาน  หลักจากสร้างชุดฝึกปฏิบัติเสร็จแล้ว นำชุดฝึกปฏิบัติไปทดลองใช้กับนักเรียนจำนวน 5 คน ที่ผ่านการเรียนวิชางานจักรยานยนต์มาแล้ว และนำข้อบกพร่องมาทำการปรับปรุงแก้ไข
1.6  นำชุดฝึกปฏิบัติไปให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ประเมินด้านคุณภาพ ซึ่งคุณสมบัติผู้เชี่ยวชาญ ต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการสอนระบบไฟฟ้ารถจักรยานยนต์หรือเป็นช่าง ซ่อมรถจักรยานยนต์ มาแล้วอย่างน้อย 5 ปี
1.7  นำชุดฝึกปฏิบัติที่ผ่านผู้เชี่ยวชาญประเมินด้านคุณภาพ ไปทดลองใช้สอนกับนักเรียน จำนวน 10 คน ที่ยังไม่เคยผ่านการเรียนระบบไฟฟ้ารถจักรยานยนต์มาก่อน ในกระบวนการทดลองสอนนั้น มีการใช้ใบความรู้  ใบงาน  แบบประเมินผล  ทั้งภาคทฤษฏี และภาคปฏิบัติ ควบคู่กันไป ในขั้นตอนนี้เป็นการหาข้อบกพร่องจากการทดลองสอน
1.8  ปรับปรุงและพัฒนาชุดฝึกปฏิบัติ  ในขั้นตอนนี้นำข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญและข้อบกพร่องจากการทดลองสอนมาปรับปรุงโดยการสร้างชุดฝึกปฏิบัติขึ้นมาใหม่
1.9  นำชุดฝึกปฏิบัติที่สร้างขึ้นมาใหม่ไปผ่านผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ประเมินด้านคุณภาพ ซึ่งคุณสมบัติผู้เชี่ยวชาญ ต้องเป็นผู้ที่มีประสบการด้านการสอนระบบไฟฟ้ารถจักรยานยนต์มาแล้วอย่างน้อย 5 ปี  และมีสถานที่ทำงานสังกัดคณะกรรมการการอาชีวศึกษาภาคเหนือ
1.10  นำชุดฝึกปฏิบัติที่สร้างขึ้นไปทำการทดลองสอนจริงกับนักเรียน ระดับ ปวช. ชั้นปีที่ 2 แผนกช่างยนต์  วิทยาลัยเทคนิคอุตรดิตถ์ ทั้งนี้เพื่อทำการหาประสิทธิภาพของชุดฝึกปฏิบัติในด้านการเรียนการสอนระบบไฟฟ้ารถจักรยานยนต์
1.11  นำ ชุดฝึกปฏิบัติที่สร้างขึ้น ไปให้ครูผู้สอนวิชางานจักรยานยนต์ได้ทดลองใช้ และสอบถามความพึงพอใจ ที่มีต่อชุดฝึกปฏิบัติระบบไฟฟ้ารถจักรยานยนต์
1.12  ได้ชุดฝึกปฏิบัติระบบไฟฟ้ารถจักรยานยนต์ที่สมบูรณ์  สามารถใช้ เป็นสื่อด้านปฏิบัติเกี่ยวกับ การต่อวงจร  ทดสอบการทำงานของวงจร  ตรวจสอบและแก้ไขปัญหาข้อขัดข้อง ของระบบไฟฟ้าทุกระบบเช่น  ระบบไฟจุดระเบิดแบบ DC-CDI  ระบบไฟชาร์จ  ระบบไฟแสงสว่าง  ระบบไฟสตาร์ท และระบบไฟสัญญาณ
ถัดไป: งบประมาณและระยะเวลาในการสร้าง

ไม่มีความคิดเห็น: